ทุกท่านเคยสับสนกับการเรียกพริกน้ำปลา หรือน้ำปลาพริกกันบ้างไหมคะ ทั้งๆ ที่สูตรการทำนั้นเหมือนกัน แต่กลับเรียกได้ทั้งสองแบบ แล้วแบบนี้จะใช้คำไหนถึงจะถูกต้องกันล่ะ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกๆ ท่านกันค่ะ
คำว่า “น้ำปลาพริก” เป็นคำที่ใช้มาแต่เดิมค่ะ ซึ่งคำว่า “น้ำปลา” เป็นคำหลัก ส่วนคำว่า “พริก” เป็นคำนามขยายค่ะ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554 ไม่มีคำว่า “น้ำพริกปลา” หรือ “พริกน้ำปลา” ไว้นะคะ แต่ให้ความหมายของคำว่า “น้ำปลา” และ “พริก” ไว้ดังนี้
น้ำปลา (น.) น้ำสำหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทำจากปลาเป็นต้นหมักกับเกลือ.
พริก (น.) ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ผลมีรสเผ็ด มีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู (C.frutescensL.), พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (C.annuum L.).
ทั้งนี้ คำว่า “น้ำปลาพริก” และ “พริกน้ำปลา” มีความหมายเดียวกันค่ะ คือ อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำปลาและพริกทั้งคู่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ เชื่อแมวเหอะ(รู้ไหมว่าตัวเองโดนหลอก) ที่ได้ค้นหาข้อมูลจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และความคิดเห็นจาก ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล กรรมการวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ที่ได้ไขข้อสงสัยกับเราค่ะ
หากท่านใดอยากลิ้มลอง “น้ำปลาพริก” หรือ “พริกน้ำปลา” ที่ทั้งสด สะอาด คัดสรรและผลิตจากวัตถุดิบชั้นดี เข้ากันกับอาหารชั้นเลิศ เราขอแนะนำ “ร้านมอเกน บางปู” สำรองที่นั่งโทร 02-038-7992
เครดิตรูปภาพ : http://chaprachanyim.com/health_CENTER/?id=401
Add Comment